วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555

การทำกรอมไก่

การทำสุ่มไก่


              ความเป็นมา สุราษฎร์ธานีเป็นจังหวัดหนึ่งที่ประชาชนนิยม กีฬาชนไก่ จึงมีการเลี้ยงไก่ชนเป็นจำนวนมาก


      และอุปกรณ์ที่จำเป็นในการเลี้ยงดูไก่ชนอย่างใกล้ชิดคือสุ่มไก่ ซึ่ง  สุ่มไก่นี้สานได้ง่าย มีราคาถูกและใช้ประโยชน์ได้ดี


     การสานสุ่มไก่นี้ศึกษาที่บ้านนางสงวน ดาววิจิตร เลขที่ 160 หมู่ที่  10 ต.ปากแพรก อ. ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี


   ซึ่งสามีนางสงวนฯ (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) สานสุ่มไก่เป็น คนแรกใน  หมู่บ้านเมื่อประมาณ 30 ปีมาแล้ว


      ปัจจุบันลูก ๆ นางสงวน ฯ ยังคงสานสุ่มไก่ เป็นอาชีพเสริมจากการ  ทำสวนยางพารา ซึ่งมีฝีมือดีสานสุ่มไก่ได้รวดเร็วชนะเลิศในงาน


      ประจำปีของจังหวัดสุราษฎร์ธานีเมื่อปี 2538 สำหรับหมู่บ้านนี้ทำกัน 4 ครอบครัว นอกจากนี้ยังมีหมู่บ้านใกล้เคียงที่สานสุ่มไก่ด้วย


ซึ่งได้รับการฝึกสอนจากบ้านนางสงวนฯ นี้





วิธีการจักสาน


     1. การจักตอกไผ่


    1.1 ใช้เลื่อยคันธนูเลื่อยตัดข้อปล้องแรกของไผ่ทิ้งเพื่อให้ผ่าลำไผ่ได้สะดวก


    1.2 ผ่าลำไผ่ออกมาเป็นเส้น ๆ


    1.3 จักตอกเส้นไผ่เป็นตอกยืน ตอกยาว และตอกไผ่ตีน


ความกว้างของตอกแต่ละแบบโดยประมาณ คือ ตอกยืน 1.3–1.7 ซม.  


ซึ่งไผ่หนึ่งลำเหลาจักตอกได้ตอกยืนใช้สานสุ่มไก่ได้ 1 ใบ และตอกยาวสานสุ่มไก่ได้ 2 ใบ


1.4 ส่วนที่เป็นข้อไผ่นำมาเหลาเป็นตะขอข้อไผ่หลักหมุดยึดหัวสุ่ม เพื่อไม่ให้สุ่ม ขยับเขยื่อนในขณะสานขึ้นรูป
ไผ่ตะเกียบ

         ไผ่ตะเกียบ คุณสมบัติมีความเหนียวและอ่อนตัวได้ดี ไผ่ตะเกียบ ที่นำมาจักสานสุ่มไก่มี อายุประมาณ 5 ปี

        แหล่งที่มาเก็บหาภายในหมู่บ้านซึ่งมีเพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่รับ    จากหมู่บ้านอื่น ราคาลำละ 4 บาทแต่ละลำมีความยาวประมาณ 8 ม.

เครื่องมือและอุปกรณ์

      1. เลื่อยคันธนู ใช้เลื่อยตัดข้อปลายลำไผ่ และเลื่อยตัดปากสุ่มเมื่อสานสุ่มไก่ เสร็จแล้ว

      2. มีดพร้า ใช้ผ่าลำไผ่และเหลาจักตอกไผ่เพื่อแยกส่วนในและส่วนผิวของไผ่ ซึ่งส่วนผิวที่ใช้งานจะมีความเหนียว ง่ายต่อการจักสาน

      3. ค้อน ใช้ตอกตะขอข้อไผ่หลักหมุดยึดส่วนหัวสุ่มไก่เมื่อสานขึ้น

1 ความคิดเห็น: